News
Home > News
News
เหตุการณ์โรคในประเทศ

รู้จักไวรัส "hMPV" อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV"
10/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
รู้จัก "เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส" หรือ "hMPV" อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV" เช็กอาการ พร้อมข้อแนะนำป้องกัน ลดโอกาสติดเชื้อ "hMPV" ย่อมาจาก Human Metapneumovirus หรือ เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อนี้บ่อยในช่วงนี้ โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว คือ ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. - พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มักพบการระบาด รู้จักไวรัส "hMPV" อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV" อ่านให้ฟัง 00:03 อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech) รู้จัก "เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส" หรือ "hMPV" อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV" เช็กอาการ พร้อมข้อแนะนำป้องกัน ลดโอกาสติดเชื้อ "hMPV" ย่อมาจาก Human Metapneumovirus หรือ เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อนี้บ่อยในช่วงนี้ โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว คือ ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. - พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มักพบการระบาด hMPV เป็นไวรัสที่อันตรายใกล้เคียง กับไวรัส RSV ที่มีการพูดถึงกันบ่อยเช่นกันในช่วงนี้ หากพูดแล้ว hMPV ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่ เป็นไวรัสที่พบได้บ่อย และพบมานานแล้ว จากการศึกษาย้อนหลัง พบว่า เชื้อ hMPV เป็นเชื้อที่มีอยู่เดิม แต่เพิ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2544 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ CNN รายงานข้อมูลการศึกษา ใน Lancet Global Health ในปี 2020 คาดการณ์ว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการติดเชื้อ hMPV มากกว่า 14 ล้านครั้ง ในปี 2018 มีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 600,000 คน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 16,000 คน อ่านข่าว : "หมอมนูญ" เตือน "ไวรัส hMPV" ระบาด อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV" โรค hMPV คือ อะไร? หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ "hMPV" วันนี้มาทำความรู้จักไวรัสชนิดนี้ให้ดีขึ้นดีกว่า นั้นก็เพื่อ หาทางป้องกัน และหาวิธีที่ลดโอกาสในการติดเชื้อ เชื้อ "เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส" หรือ hMPV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ RSV ทำให้เกิดอากาศติดเชื้อในทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ โดยเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส สามารถติดต่อกันผ่านทาง น้ำมูก น้ำลาย ไอ และ จาม อย่างไรก็ตาม ในผู้ใหญ่และเด็กโตที่มีภูมิต้านทานดีหากติดเชื้อนี้ บางคนอาจมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา หรืออาจไม่มีอาการเลยก็ได้ hMPV เป็นไวรัสที่อันตรายใกล้เคียง กับไวรัส RSV ที่มีการพูดถึงกันบ่อยเช่นกันในช่วงนี้ หากพูดแล้ว hMPV ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่ เป็นไวรัสที่พบได้บ่อย และพบมานานแล้ว จากการศึกษาย้อนหลัง พบว่า เชื้อ hMPV เป็นเชื้อที่มีอยู่เดิม แต่เพิ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2544 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ CNN รายงานข้อมูลการศึกษา ใน Lancet Global Health ในปี 2020 คาดการณ์ว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการติดเชื้อ hMPV มากกว่า 14 ล้านครั้ง ในปี 2018 มีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 600,000 คน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 16,000 คน อาการ ผู้ติดเชื้อไวรัส "hMPV" สำหรับอาการของโรคนี้คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 และ RSV มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก เหนื่อย หายใจไม่สะดวก แยกยากจากไวรัสตัวอื่น ๆ ต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการถึงจะบอกได้ สำหรับระยะฟักตัวของโรคอยู่ประมาณ 3-5 วัน ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้นานถึง 1-2 สัปดาห์ หลังจากแสดงอาการ เชื้อ hMPV มีการเพิ่มจำนวนได้ดีในเซลล์เหยื่อบุทางเดินหายใจ กลไกที่ทำให้เกิดโรคมีความคล้ายกับการติดเชื้อ RSV ผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการ หรือ แสดงอาการตั้งแต่ไข้หวัด ไปถึงขั้นอากาศรุนแรง คือ หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน หรือ ปอดบวม โดยเชื้อสามารถอยู่ในปอดได้นานหลายสัปดาห์ ถึงแม้จะมีการสร้างภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ มีไข้ ไอ เป็นอาการนำ นอกจากนี้ ยังมีน้ำมูกไหล หลังได้ติดเชื้อผู้ป่วยยังอาจมีอาการ อาเจียน ชัก เป็นผื่น และท้องเสีย เกิดขึ้นได้ ตรวจร่างกายพบ เกิดเสียงผิดปกติขึ้นขณะหายใจ เช่น หายใจมีเสียงหวีด นอกจากนี้ยังอาจมีภาวะ Hypoxia หรือ ภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน ต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต และยังอาจกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของหลอดลม ทำให้เกิดอาการหอบหืด คล้าย RSV เชื้อไวรัส hMPV มักจะเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนล่างหลอดลมและปอดในคนสูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน หอบหืด โรคไต ทำให้เกิดอาการเหนื่อย จนต้องให้ออกซิเจน บางคนถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลว การตรวจวินิจฉัย และรักษา ปัจจุบันการตรวจ hMPV ทำได้โดยวิธีการ swab ป้ายจมูกแล้วส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นเดียวกับการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ RSV ซึ่งให้ผลเร็ว ทำให้พบเชื้อนี้มากกว่าแต่ก่อน เชื้อนี้ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ hMPV เป็นการรักษาตามอาการ โดยในช่วงนี้ มีเด็ก และผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ จำนวนมาก โดยข้อมูลเดือนตุลาคม 2566 ของโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV) พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 294 คน เพิ่มขึ้นมากกว่าเดือน ก.ย. พบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เดือนที่แล้วยังสูง 434 คน เชื้ออาร์เอสวี (RSV) 79 คน เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV) เพิ่มขึ้นเป็น 53 คน นอกจากนี้ ยังระบุว่า การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โควิด-19, RSV, hMPV และไข้เลือดออกยังสูงอยู่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่แซงหน้าไวรัสโควิด 3 เดือนต่อเนื่อง และช่วงนี้เด็กและผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจจำนวนมาก โดยการป้องกันสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เลี่ยงใกล้ชิดผู้ป่วย ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจ


หมอมนูญเตือนไวรัส hMPV ระบาดเพิ่ม - ไข้หวัดใหญ่ยังช่วงสูงปลายฝนต้นหนาว
09/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
ช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูปลายฝนต้นหนาว นพ.มนูญ เผยพบการแพร่ระบาดของไวรัสทั้งโควิด ไข้หวัดใหญ่ เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human Metapneumovirus (hMPV) ควบคู่ไปกับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV)ที่อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว คือตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน มีการระบาดของเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human Metapneumovirus (hMPV) ควบคู่ไปกับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) อาการของไวรัส hMPV นพ.มนูญ ระบุต่อว่า อาการของโรคนี้คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 และ RSV


ผู้สูงวัยกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ คอลัมน์ชีวิตบั้นปลายของชายชรา : กริช อึ้งวิฑูรสถิตย์
11/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
อาการของโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่นี้ได้เริ่มระบาดไปทั่วแล้ว ซึ่งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นโรคติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปอีกหลายประเทศ รวมถึงไต้หวันและประเทศไทยด้วย ลักษณะของอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการ หลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1–3 วัน อาการของผู้ป่วยจะใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ และเจ็บคอ บางคนก็อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อยากจะอาเจียน เห็นอาหารแล้วไม่อยากจะทาน กำลังโหลด ผู้สูงวัยกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ แชร์ ฐานเศรษฐกิจ 11 พฤศจิกายน 2566 ผู้สูงวัยกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ผู้สูงวัยกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ คอลัมน์ชีวิตบั้นปลายของชายชรา โดยกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมคณะกรรมการบริหารของสมาคมจงหัวแห่งประเทศไทย 31 ท่าน เดินทางไปไต้หวัน ซึ่งอายุอานามรวมกันแล้ว น่าจะเกินกว่าสองพันปีปลายๆ ไปแล้วครับ ในการเดินทางครั้งนี้จากที่ผมได้พูดคุยกัน ก็พอจะทราบว่าผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ท่านก็ไม่ค่อยจะระมัดระวังตัวกันสักเท่าไหร่ เพราะหลายๆ ท่านก็ฉีดวัคซีนกันค่อนข้างจะน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิด-19 ระบาด จึงทำให้ระหว่างการเดินทาง หลายท่านก็เริ่มส่ออาการให้เห็นว่าจะไม่ค่อยดีนักครับ เริ่มจากท่านแรก ระหว่างอยู่ที่ทะเลสาบซัน-มูนเลค ก็มีอยู่ท่านหนึ่งเกิดอาการตัวร้อน ไอ และเจ็บคอ ท่านก็คิดว่าจะต้องติดโควิดแน่ๆ ทำเอาเพื่อนที่นอนร่วมห้องตื่นตระหนกพอสมควร ผมจึงรีบไปหาซื้อชุดตรวจ ATK มาทำการตรวจให้ ผลออกมาว่าแค่ขีดเดียว ปลอดภัย ผมจึงให้ทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ไป หลังจากนั้นอีกหนึ่งวันเราเดินทางมาถึงเมืองเจียอี้ ท่านที่สองก็เริ่มมีอาการในลักษณะเช่นเดียวกัน ผมก็เลยต้องวิ่งหาซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจให้อีกครั้ง ครั้งแรกตอนที่อยู่ซัน-มูนเลคผมซื้อมาเพียงชุดเดียว ราคาชุดละหนึ่งร้อยหยวนไต้หวัน ก็ราวๆ ร้อยสิบบาทไทย ในใจก็นึกว่าทำไม ATK จึงแพงจัง เพราะบ้านเราชุดละไม่กี่สิบบาท แต่คราวนี้ผมตัดสินใจซื้อแบบชุดใหญ่ที่บรรจุ 10 ชุดมาเลย ปรากฏว่าแพงกว่าครั้งแรกอีก คือตกชุดละสองร้อยหยวน ทำให้คิดว่าสงสัยที่ไต้หวันเริ่มไม่มีคนซื้อชุด ATK ใช้กันแล้ว ราคาถึงได้แพงมาก การตรวจหาเชื้อโควิดให้แก่คณะ ก็ไม่เจอใครติดเชื้อโควิดเลย ยิ่งพอพวกเรามาถึงเมืองเกาสง คณะเราก็เริ่มมีอาการตัวร้อน ไอ และเจ็บคอกันมากขึ้น คราวนี้จึงทำให้ผมเริ่มเชื่อมั่นว่า น่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่มากกว่าเป็นอาการโควิด-19 แล้วละครับ แต่ก็ไม่อยากกระโตกกระตากให้ใจเสียกัน เพราะเรากำลังจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ กันแล้วในวันรุ่งขึ้น ซึ่งพอตกกลางดึกคืนนั้น เพื่อนร่วมห้องผมก็มีอาการนี้เช่นกัน เพราะเขาบอกว่ามีอาการเหมือนจะเป็นไข้ ตัวร้อนแล้ว ผมก็จึงให้ทานยาพาราเซตามอลบรรเทาอาการไปก่อน ตื่นเช้าขึ้นมา เพื่อนอีกท่านหนึ่ง ซึ่งท่านนี้น่าจะเป็นคนที่อ่อนแอที่สุดในคณะเรา ก็มาขอให้ผมช่วยตรวจ ATK ให้ ผมก็ได้แต่ปลอบใจและตรวจให้ตามความต้องการ จากนั้นก็ให้ทานยาลดไข้เหมือนทุกคน แต่ท่านนี้ไม่ยอมทานยาลดไข้ เพราะท่านคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก แต่ขณะที่อยู่บนเครื่องบินระหว่างเดินทางกลับ อาการของท่านก็เริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเครื่องบินลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ จึงต้องรีบส่งตัวท่านไปยังโรงพยาบาลทันที และต่อมาในวันถัดๆ มา ก็มีคนในคณะฯ เริ่มทะยอยเข้ารักษาในโรงพยาบาลอีกหลายท่านเลยครับ แม้ว่าผมจะได้ฉีดวัคซีนแล้ว เพราะไม่ว่าจะเป็นวัคซีนอะไร ผมก็จะต้องเสาะหามาฉีดเสมอ ดังนั้นครั้งนี้ถึงจะโดนหางเลขไปด้วย แต่ก็ไม่ค่อยจะหนักหนาสาหัสเหมือนคนอื่นๆ ครับ อาการของโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่นี้ได้เริ่มระบาดไปทั่วแล้ว ซึ่งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นโรคติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปอีกหลายประเทศ รวมถึงไต้หวันและประเทศไทยด้วย ลักษณะของอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการ หลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1–3 วัน อาการของผู้ป่วยจะใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ และเจ็บคอ บางคนก็อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อยากจะอาเจียน เห็นอาหารแล้วไม่อยากจะทาน ซึ่งในกลุ่มที่เดินทางไปด้วยกันในครั้งนี้ ก็จะมีอาการเช่นนี้ตลอดเวลาเกือบทุกคนที่ป่วย ซึ่งผู้ป่วยบางคนก็จะมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการไม่รุนแรง ก็จะหายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะเริ่มทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีสภาพร่างกายที่อ่อนแอเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็อาจจะมีอาการปอดอักเสบ บางคนที่อาการรุนแรงมากๆ ก็จะพบว่าหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบากได้ การแพร่เชื้อของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ มักจะติดต่อโดยเชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่นๆ โดยการไอหรือจามใส่กันแบบโดยตรง หรือบางคนหากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร ก็อาจจะหายใจเอาฝอยละอองที่มีเชื้อไวรัสนี้เข้าไป บางรายได้รับเชื้อโดยทางอ้อม เช่น ผ่านมาทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำที่ผู้ป่วยดื่มก่อนหน้า โดยคนที่ใช้แก้วใบเดิมดื่มต่อแต่ไม่ได้ล้างแก้วให้สะอาดก่อนจะดื่ม หรือการใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดมือที่มีผู้ติดเชื้อใช้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นเราจึงต้องควรระวังเรื่องของการใช้ภาชนะต่างๆ ที่เป็นของสาธารณะ ต้องไม่ลืมว่าเชื้อไวรัสตัวนี้ สามารถกระจายได้อย่างรวดเร็วมาก ส่วนใหญ่เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทาง จมูก ตา ปาก จากนั้นเชื้อไวรัสนี้จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 1-3 เท่านั้น วิธีการป้องกันก็ควรจะมีการฉีดวัคซีน ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถหาฉีดได้ง่ายมากจากโรงพยาบาลทั่วไป และควรจะต้องพยายามล้างมือให้สะอาดเสมอ อย่าลืมเรื่องกินร้อนช้อนกลางเป็นสิ่งสำคัญที่สุด


ความจำเป็นของวัคซีน แผนพัฒนาของไฟเซอร์ โควิด-ไข้หวัดใหญ่ในเข็มเดียว
11/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
บุกโรงงานไฟเซอร์เบลเยียม กับแนวทางในอนาคตของวัคซีน วัคซีน 2 in 1 ป้องกันโควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ในเข็มเดียว วัคซีนงูสวัด และ RSV ฉีดให้กับแม่ที่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่ปลายปี 2562 “โลก” ได้รู้จักกับ “ไวรัส” ที่มาจาก “อู่ฮั่น” และต่อมาได้ถูกจำกัดชื่อ คือ “โควิด-19” โรคติดต่อร้ายแรงและอุบัติใหม่แสนน่ากลัวที่ไม่มียารักษา และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว หากใครได้รับเชื้อโรค ทางเดียวที่ทำได้คือการรักษา “ตามอาการ” จากความน่ากลัวของเชื้อโรคนี้ หนทางต่อสู้ที่ “โลก” หาทางรับมือ คือการไล่ตามให้ทัน ด้วยการวิจัยและพัฒนา “วัคซีน” จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ระบุ สถิติการฉีดวัคซีน ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2566 (อัปเดตล่าสุดแล้ว) พบว่าคนไทยที่ได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว 146,758,556 โดส ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีผู้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม จำนวน 57.6 ล้านคน จำนวน 2 เข็ม 54 ล้านคน และเข็มบูสเตอร์เข็มที่ 3 จำนวน 27.3 ล้านคน เข็มที่ 4 จำนวน 6.5 ล้านคน เข็มที่ 5 จำนวน 1 ล้านคน และเข็มที่ 6 จำนวน 6.8 หมื่นคน จากตัวเลขดังกล่าว คุณสังเกตเห็นอะไร... มันคือ “ตัวเลข” การฉีดวัคซีนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด แล้วมันแปลว่าอะไร... ทำไมคนไทยเลือกฉีดวัคซีนน้อยลง คำตอบของคำถามนี้อาจจะมีหลายเหตุผล แต่โดยรวมน่าจะเพราะ “เรา” มีภูมิคุ้มกันกันแล้ว หาก “ติดเชื้อ” อาการของโรคก็จะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต (ยกเว้นคนที่มีโรคประจำตัว หรือเข้าข่าย 608) เป็นที่มาของการประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่น คำถามต่อมา...เรายังจำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่...? และหากมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันโควิด และโรคไข้หวัดใหญ่ ที่ระบาดตามฤดูกาล เราจะฉีดกันหรือไม่


ที่ประชุมเคาะ "สายพันธ์ุไข้หวัดใหญ่ในไทย" สู่การผลิตวัคซีน 67
12/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บอกว่า จากข้อมูลการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยของศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิค Whole genome sequencing (WGS) วิเคราะห์ลำดับพันธุ กรรมทั้งจีโนม และประเมินความสอด คล้องกับสายพันธุ์วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่กระทรวงสาธารณสุขฉีดให้กับประชาชน พบว่า สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่ตรวจพบในประเทศไทยมีความสอด คล้องกับสายพันธุ์วัคซีนที่ฉีดและสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ ดังนั้น ที่ประชุมคัดเลือกสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ เพื่อนำไปใช้ผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 สำหรับประเทศทางซีกโลกใต้ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก สมาชิกห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั่วโลก และบริษัทผู้ผลิตวัคซีนได้ คัดเลือกสายพันธุ์เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ เพื่อนำไปผลิตเป็นวัคซีนป้องกันโรคต่อไป โดย 1 ใน 3 สายพันธุ์ เป็นเชื้อที่แยกได้จากระบบเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ของประเทศไทย “จากการที่สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่ตรวจพบในประเทศไทย ได้รับคัดเลือกให้เป็นองค์ประกอบในวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือและบทบาทที่เข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่มีต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชากรโลกอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมการแพร่ระบาดและลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตของประชากรไทยและประชากรโลก


ผู้เชี่ยวชาญห่วงคนภูมิต่ำ แนะรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หลังร้อยละ 47 ของคนเข้ารพ. ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่
10/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
ผู้เชี่ยวชาญห่วงคนภูมิต่ำ แนะรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หลังร้อยละ 47 ของคนเข้ารพ. ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ วันนี้ (10 พ.ย.2566) รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้แทนสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวในวันแห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มโลก 2566 ว่า จากสถานการณ์การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน พบว่าในคนจำนวน 100 คน ที่พบแพทย์ในโรงพยาบาลมีถึงร้อยละ 47 ที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นหากใครที่ยังไม่ได้รับวัคซีน สามารถไปรับวัคซีนได้ แต่ไม่ควรตื่นตระหนกถึงขั้นรับวัคซีน 2 ครั้งหากรับไปแล้ว ขณะที่มีข้อยกเว้นสำหรับคนภูมิต่ำที่ควรรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 เข็ม ได้แก่ เด็กเล็กอายุ 6 เดือน หากอยู่ในช่วงการแพทย์ระบาดก็สามารถรับวัคซีนได้โดยปรึกษาแพทย์ คนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก เช่น ขณะปลูกถ่ายอวัยวะฟอกไต ควรพิจารณารับวัคซีนเพิ่มเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน คนมีภูมิเพราะโควิดแล้วร้อยละ 95 รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวว่า ส่วนการรับวัคซีนโควิด-19 เชื่อว่าร้อยละ 95 ของประชากรโดยส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันแล้ว ซึ่งปัจจุบันการรับวัคซีน สามารถรับได้ทั้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่และโควิดไปพร้อมกัน ในกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งนี้ จากการติดตามข้อมูลของกุมารแพทย์ มีแนวทางพิจารณาให้ฉีดวัคซีนโควิดกับเด็กเล็กอายุ 6 เดือน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาอาจมีหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับวัคซีน ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มส่งต่อโดยกำเนิด hMPV เป็นโรคทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี ยังกล่าวถึงการติดเชื้อ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส หรือ hMPV ว่า ถือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจอย่างหนึ่งที่เพิ่งพบไม่นานในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน เน้นรักษาตามอาการ หากเป็นในเด็กเล็กอาการมักไม่รุนแรง เนื่องจากร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวและสร้างภูมิคุ้มกัน ผิดกับผู้ใหญ่ หากเป็นแล้วจะมีอาการรุนแรงกว่า จึงเป็นสาเหตุที่แพทย์ส่วนใหญ่ มักรณรงค์ให้โรคที่สามารถป้องกันได้วัคซีน ก็ควรฉีดวัคซีนเพื่อเป็นการป้องกันลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต


ทารก 10 เดือน ช็อกรุนแรง ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่กับไข้เลือดออก
07/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
ไข้หวัดใหญ่กับไข้เลือดออก ผู้ป่วยติดเชื้อ 2 โรค ในคนๆ เดียว พบอย่างต่อเนื่อง หมอจิรรุจน์ ยกเคสทารกวัย 10 เดือน มีอาการช็อกรุนแรง ทีมแพทย์พยายามเต็มที่ จนสามารถเอาเครื่องช่วยหายใจออกได้ หนูน้อยกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ย้ำเตือน 2 โรคนี้มีวัคซีนป้องกันแล้ว


วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดหรือไม่
07/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ในประเทศไทยพบไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดทั้งปีแต่มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบก่อโรคได้บ่อยเกิดจากไวรัสสายพันธุ์เอและบี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติมักมีอาการไม่รุนแรงและมีอาการเฉพาะทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ ไข้สูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ โดยอาการมักมีความรุนแรงกว่าการติดเชื้อไข้หวัดทั่วไป อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างหรือการติดเชื้อที่ปอด ได้แก่ เด็กเล็กผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจมีการติดเชื้อที่รุนแรงและเกิดภาวะหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง ในวัคซีน 1 เข็มจะบรรจุเชื้อ 3-4 สายพันธุ์ (เอ 2 สายพันธุ์ และบี 1-2 สายพันธุ์) และในปัจจุบันในประเทศไทยมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 ขนาด ได้แก่ ● วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน (standard-dose influenza vaccine) สามารถฉีดได้ทุกราย ● วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง (high-dose influenza vaccine) เป็นตัวเลือกให้กับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากพบว่าช่วยสร้างภูมิต้านทานได้ดีขึ้น ลดการติดเชื้อและการนอนโรงพยาบาล ผู้ที่ความเสี่ยงต่อการเป็นไข้หวัดใหญ่ที่รุนแรงและควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ● หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป ● เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบ ● ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน ● ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ● โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ● โรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ● ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ นอกจากนั้นบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงยังควรพิจารณาฉีดวัคซีนด้วยเช่นกัน


ป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทุกสายพันธุ์ ได้ง่ายๆ
07/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
ป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทุกสายพันธุ์ ได้ง่ายๆ โดยใช้ 4 หลักสำคัญ ป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยการ “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่... Facebook สคร.5 ราชบุรี กรมควบคุมโรค : https://www.facebook.com/dpc5.ddc/ youtube DPC.5 CHANNEL : https://youtube.com/@dpc.5channel TikTok DPC.5 CHANNEL : https://www.tiktok.com/@dpc5channel


"หมอมนูญ" เผยไวรัสหวัดใหญ่ แซงหน้า โควิด 3 เดือนต่อเนื่อง แนะใส่หน้ากากเว้นระยะห่าง
06/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “ติดตามข้อมูลระบาดวิทยา รู้ทันว่ามีโรคไวรัสอะไรระบาดบ้าง” ความว่า เดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV) เดือนที่แล้วพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 294 ราย เพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนกันยายน (ดูกราฟ) พบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เดือนที่แล้วยังสูง 434 ราย (ดูกราฟ) เชื้ออาร์เอสวี (RSV) 79 ราย (ดูกราฟ) และเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV) เพิ่มขึ้นเป็น 53 ราย (ดูกราฟ) พบโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ 33 ราย พบโรคชิคุนกุนยาหรือไข้ปวดข้อยุงลาย 3 ราย โรคไวรัสโนโร (Noro) และโรตา (Rota) ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เดือนที่แล้วพบโนโรไวรัส 6 ราย ไม่พบโรตาไวรัส การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โควิด-19, RSV, hMPV และไข้เลือดออกยังสูงอยู่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่แซงหน้าไวรัสโควิด 3 เดือนต่อเนื่อง ช่วงนี้เด็กและผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจเยอะมาก มาด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก แยกไม่ออกว่าเป็นไข้หวัดใหญ่, โควิด-19, RSV, hMPV หรือไวรัสตัวอื่นๆ ต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ จึงจะบอกได้ว่าติดเชื้อตัวไหน ขอให้ทุกคนยังควรใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และหมั่นล้างมือ เวลาอยู่ในที่มีผู้คนแออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี และเวลาอยู่ในสถานพยาบาล เพื่อลดการแพร่เชื้อและการรับเชื้อโรคไวรัสทางเดินหายใจทุกชนิด เดือนพฤศจิกายน สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 และไวรัสอื่นๆ จะเป็นอย่างไร ติดตามรายงานเดือนหน้าครับ


ทำไมต้องฉีดกันทุกปี แล้วทำไมต้อง 4 สายพันธุ์ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
02/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดปกติ คือจะมีความเสี่ยงต่ออาการโรคประจำตัวกำเริบ และภาวะแทรกซ้อน ซึ่งรวมถึงภาวะปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือมีผลกระทบรุนแรงต่อระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบประสาทถึงขั้นเสียชีวิตได้ ไข้หวัดใหญ่ป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งที่ผ่านมาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนด3สายพันธุ์สามารถครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A/H1N1 , A/H3N2 และสายพันธุ์B อีกตระกูล และก็ได้มีการพัฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งล่าสุดในปี ค.ศ.2012 องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้เพิ่มไวรัสสายพันธุ์B เข้าในวัคซีนอีกหนึ่งสายพันธุ์ คือ Quadrivalent Influenza vaccine ซึ่งครอบคลุมไวรัส 4 สายพันธุ์ และWHOแนะนำให้ฉีดวัคซีน 4 สายพันธุ์นี้ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ครอบคลุมกว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์มีประโยชน์อย่างไร? นอกจากการป้องกันร่างกายจากเชื้อไวรัสไข้หวัดทั้ง 4 สายพันธุ์แล้วยังมีประโยชน์เพิ่มเติมดังนี้ -สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดชนิดBครอบคลุมสายพันธุ์นี้ได้มากขึ้นกว่าเดิม -ลดอัตราการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ -ลดปัญหาจากภาวะแทรกซ้อนในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง -ลดการใช้ยาปฏิชีวนะจากภาวะแทรกซ้อนในการติดเชื้อแบคทีเรีย -ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา X -ลดการขาดงานหรือขาดเรียน -ลดอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล -ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี? แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ก่อนฤดูที่มีการระบาด (ฤดูฝนและฤดูหนาว) และฉีดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดต่ำลงได้ในระยะเวลาไม่นาน การฉีดวัคซีนทุกปีจึงเป็นการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในแต่ละปี


ติดหมด!!! สคร.9 เตือน เปิดเทอมนี้ ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ก่อนแพร่ระบาด
02/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
ช่วงนี้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น อีกทั้งสถานศึกษาหลายแห่งเริ่มเปิดเทอม มีเด็กนักเรียนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก สคร.9 นครราชสีมา มีความห่วงใย ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพ สวมหน้ากากอนามัย และขอให้ยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ในช่วงนี้โรคไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมทั้งมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในโรงเรียน รวมถึงพื้นที่ที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมาก เช่น สถานที่ทำงาน โรงพยาบาล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในชุมชนเป็นวงกว้าง โรคไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม ในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น นอกจากนี้ยังแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ทำให้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 24 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 341,917 ราย อัตราป่วย 516.71 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 17.43 รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี ร้อยละ 15.49 และกลุ่มอายุ 7-9 ปี ร้อยละ 14.20 ตามลำดับ สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในเขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 21 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จำนวน 43,341 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยสถานการณ์ 8 สัปดาห์ที่ผ่านมา (สัปดาห์ที่ 35 – 42) พบผู้ป่วย 28,935 ราย แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วย 11,462 ราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 6,784 ราย จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 5,845 ราย และจังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 4,844 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี อัตราป่วย 1,889.19 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี อัตราป่วย 1,421.42 ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มอายุ 0-4 ปี อัตราป่วย 1,301.64 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน กล่าวต่อไปว่า ขอให้ประชาชนป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะ 7 กลุ่มเสี่ยงควรไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2.เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี 3.ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน 4.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 5.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 6.โรคธาลัสซีเมียและ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งรวมผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ และ 7.โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยใช้มาตรการ “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ได้แก่ 1.ปิด ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ต้องใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง หากเจ็บป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ ควรใส่หน้ากากอนามัย 2.ล้าง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันได ราวบนรถโดยสาร ปุ่มกดลิฟต์ 3.เลี่ยง หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย และ 4.หยุด เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด แม้ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422


ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 "ชลบุรี" ตั้งจุดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี
01/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา เชิญชวนผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) และมาตรา 39 (ม. 39) ในจังหวัดชลบุรี เข้ารับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ตามจุดให้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ เงื่อนไข หลักเกณฑ์ เข้ารับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี ผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป เปิดชื่อ 27 จังหวัดนำร่องใช้บัตรประชาชนใบเดียว รักษาได้ ทุกที่ ทุกโรค จุดให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1.โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา บริเวณห้องฉีดวัคซีน ด้านหลัง 7-11 ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. 2.โรงพยาบาลพญาไทบางพระ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. โทร. 038-341-334 3.คลินิกเวชกรรมพญาไทบ่อวิน ตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. โทร.063-226-2220 กรณีมีโรคประจำตัวหรือมีประวัติการแพ้วัคซีนแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1.สองวันก่อน และหลังการฉีดวัคซีน ให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกน้ำหนัก และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 2.การฉีดวัคซีนโควิดควรห่างกับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อย 1 เดือน 3.ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากจนทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ด ซ้ำได้ถ้าจำเป็น แต่ให้ห่างกัน 6 ชั่วโมง ห้ามกินยาจำพวก Brufen Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด 4.ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวัน อย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกแขนหนัก 5.วันที่ฉีด ควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี งดชา กาแฟ หรือของที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 6.หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที 7.ถ้ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ให้กินยาตามปกติแต่เมื่อฉีดยาแล้ว ให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที


วัคซีนโควิดหลบไป'วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ' ต้องมา
27/10/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับไวรัสที่ชื่อว่า “อินฟลูเอนซา” (influenza) ซึ่งมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์อยู่ 4 สายพันธุ์ โดยโรคสามารถติดต่อด้วยการสัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เช่น การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยโดยไม่ใช้ช้อนกลางและการพูดคุยใกล้ชิดกับผู้ป่วย เป็นต้น หลังการระบาดของโควิด-19 ซาลง ไข้หวัดใหญ่ก็เข้ามาระบาดแทนที่ โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีการระบาดหนักเลยก็ว่าได้ โดยล่าสุดกรมควบคุมโรคเผยว่ามีจำนวนผู้ป่วยสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2566 ถึง 248,322 ราย อัตราป่วย 375.50 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 8 ราย เฉพาะในเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 109,556 ราย ผลจากการระบาดในกลุ่มประชากรระดับแสนคน ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลน ยารักษาอาการไข้หวัดใหญ่ อย่างโอเซลทามิเวียร์ ซึ่งมีราคาแพงขึ้นในช่วงนี้ และถึงกับมีการทำยาปลอม และลักลอบนำเข้ายาอย่างไม่ถูกกฎหมาย ล่าสุดทางองค์การเภสัชกรรม (อภ.) จึงได้ประกาศผลิตยาโอเซลทามิเวียร์เพิ่มขึ้น และจะกระจายยาไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศให้เพียงพอแก่สถานการณ์ระบาด อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า ผู้ป่วยจะมีอาการที่คล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ และมีน้ำมูก แต่จะมีอาการรุนแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ มีไข้สูง หนาวสั่น ไอหนักจนนอนไม่ได้ ปวดหัวมาก ปวดตัว น้ำมูกเยอะ แน่นจมูก บางรายอาจมีอาการหายใจติดขัด หอบเหนื่อย และแน่นหน้าอก ร่วมด้วย ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ที่อยู่ในวัยทำงาน อาการรุนแรงถึงขนาดนอนโรงพยาบาล


"หมอธีระ" ย้ำดังๆอีก! "ไข้หวัดใหญ่" น่าเป็นห่วง จำนวนผู้ป่วยยังสูง แนะ ควรไปฉีดวัคซีน ลดเสี่ยงรุนแรง - เสียชีวิต
26/10/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
เมื่อวันที่ 26 ต.ค.66 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า ... ไข้หวัดใหญ่ยังน่าเป็นห่วง ข้อมูลจนถึง 18 ตุลาคม 2566 ยังแสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ยังคงสูง เมื่อเทียบกับเดือนต่อเดือน ปี 2566 นี้แต่ละเดือนมีจำนวนเคสสูงกว่าปี 2565 หลายเท่า ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงตุลาคม ปีนี้พบว่าทุกเดือนล้วนมีจำนวนเคสมากกว่าปีก่อน 3.5-7.2 เท่า โดยเดือนกันยายนที่ผ่านมา ถือว่ามีจำนวนเคสทั่วประเทศมากกว่า 120,000 ราย สูงกว่าปีก่อนราว 6.4 เท่า ทั้งนี้หากวิเคราะห์ดูจำนวนผู้ป่วยในกรุงเทพมหานคร จะพบว่าเดือนกันยายนปีนี้มีสูงเกือบ 21,000 ราย สูงกว่าปีก่อนเกือบ 8 เท่า การป้องกันตัวระหว่างใช้ชีวิตประจำวันจึงมีความสำคัญ หากมีอาการป่วย ควรแยกตัว ไม่ไปเสี่ยงแพร่ให้คนอื่น ไม่ว่าจะที่โรงเรียน สถานศึกษา ที่ทำงาน และที่บ้าน ไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน ประชาชนควรไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง เพื่อลดเสี่ยงป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

รายการทั้งหมด 105 รายการ