News
Home > News
News
เหตุการณ์โรคในประเทศ

สธ.เตือนอากาศหนาวเพิ่มเสี่ยงระบาด “โรคไข้หวัดใหญ่”
25/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
สธ.เตือนอากาศหนาวเพิ่มเสี่ยงระบาด “โรคไข้หวัดใหญ่”


คนภูเก็ต ลงทะเบียนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี 2567
05/01/2567
เหตุการณ์โรคในประเทศ
คนภูเก็ต ลงทะเบียนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี 2567


'อาหารฤดูหนาว' ที่ควรกิน ป้องกันไข้หวัด 'เสริมภูมิต้านทาน'
11/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
อาหารฤดูหนาว ช่วย เสริมภูมิต้านทาน เพื่อป้องกันโรคที่มากับลมหนาว บางทีกลางวันร้อน ตกดึกหนาว ร่างกายกระทบอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เจ็บป่วยง่าย อีกทั้งไข้หวัดใหญ่และโควิดยังคงอยู่ อย่าชะล่าใจ พึงป้องกันไว้ก่อนด้วยอาหารที่มีวิตามินซีสูง และสารต้านอนุมูลอิสระ อาหารที่มีฤทธิ์ร้อน อาหารอุ่น ๆ และผักผลไม้เสริมเส้นใย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มพลังงาน และช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานดีขึ้น อาหารฤดูหนาว ต้านลมหนาวและสร้าง เสริมภูมิต้านทาน มีดังนี้ 1 เริ่มต้นวันด้วยข้าวต้ม โจ๊ก โอ๊ตมีล กินอาหารอ่อน ๆ เหลว ๆ ตอนเช้า ไม่ถือว่าเป็นคนป่วย ตรงกันข้ามกลับเป็นอาหารสุขภาพที่เติมพลังตอนเช้า ย่อยง่าย และครีเอทเมนูได้หลากหลาย คนจีนก็กินข้าวต้มหรือโจ๊กเป็นอาหารเช้า จัดให้ครบเครื่องหน่อยก็จะได้โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุอื่น ๆ ฝรั่งมี Porridge หรือโจ๊กธัญพืช บ้างกินโอ๊ตมีล (ข้าวโอ๊ตต้ม) เป็นอาหารเช้าเช่นกัน โดยเติมถั่ว ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลไม้สด เป็นอาหารฤดูหนาวที่กินตอนเช้าดีนัก 'อาหารฤดูหนาว' ที่ควรกิน ป้องกันไข้หวัด 'เสริมภูมิต้านทาน' โอ๊ตมีลเติมถั่วและผลไม้ (Cr.eatwell101.com) 2 ดื่มนมอุ่น นม โยเกิร์ต ชีส อุดมด้วยแคลเซียม โปรตีน วิตามินเอ, บี12 ให้พลังงาน เสริมภูมิต้านทาน คนเป็นหวัดง่ายตอนหน้าหนาว ดื่มนมอุ่นช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น อาการไม่สบายตัวจะหายไว คนกลัวอ้วนเลือกนมพร่องไขมัน หรือโยเกิร์ตโลว์แฟต รวมถึงนมทางเลือกเช่น นมข้าวโอ๊ต นมอัลมอนด์ อุ่นก่อนดื่ม นมอุ่นยังเป็นยานอนหลับชั้นดี มีโปรตีนและกรดอะมิโนทริปโตฟาน (Tryptophan) ดื่มเข้าไปแล้วจะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเมลาโทนินและเซโรโทนิน เป็นยาคลายเครียดธรรมชาติ ช่วยให้หลับสบาย ถ้ากลัวไขมันเลือกนมโลว์แฟตซึ่งยังให้กรดอะมิโนชนิดเดียวกัน ไม่น้อยไปกว่านมปกติ 3 บร็อกโคลี่และดอกกะหล่ำ บร็อกโคลี่ เป็นผักที่มีวิตามินซีสูง เสริมภูมิต้านทานดีมาก เป็นซูเปอร์ผัก ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ บร็อกโคลี่อุดมด้วยเส้นใย เบต้าแคโรทีน วิตามินซี แร่ธาตุอีกหลากหลาย สารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) และสารอินดอล (Indole) มีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คำแนะนำคือกินอย่างน้อยสัปดาห์ละ ½ ถ้วย ดอกกะหล่ำ เป็นพืชตระกูลเดียวกับบร็อกโคลี่ มีวิตามินซี, เค, บี 5, โฟเลต โพแทสเซียม เป็น พืชสีขาว ที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบของปอด งานวิจัยพบว่าช่วยต้านโรคมะเร็งปอด จึงมีส่วนสัมพันธ์กับโรคระบบทางเดินหายใจ 4 ผักประเภทหัวหรือราก ผักกินหัวหรือรากเป็นผักฤดูหนาว เช่น แครอท หัวไช้เท้า หัวผักกาด หอมหัวใหญ่ บีทรูท เฟนเนล ราดิช จนถึงมันฝรั่ง มันเทศ เผือก แก่นตะวัน กระเทียม ขิง ขมิ้น เป็นช่วงที่ผักเติบโตตามฤดูกาล และสะสมสารอาหารไว้เต็มที่ จึงเหมาะเป็นอาหารฤดูหนาว และเป็นผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีวิตามินเอ, ซี, เบต้าแคราทีน ปรุงสไตล์ไหนก็ได้ ง่ายที่สุดคือหั่นสามเหลี่ยมแล้วอบ ปรุงด้วยบัลซามิค โรสแมรี่ น้ำส้มสายชูนิด ปาปริก้าหน่อย ผักประเภทหัวจะมีรสหวานตามธรรมชาติ แค่โรยเกลือ พริกไทย เอาเข้าเตาอบก็อร่อยแล้ว ง่ายกว่านี้คือกินผักพวกนี้มากขึ้น จะอบ นึ่ง เติมในสลัด ต้มกับข้าวต้ม หรือใช้เป็นผักเคียงในจานสเต๊ก 5 ซุป คิดอะไรไม่ออกก็เข้าครัวต้มซุปร้อน ๆ กิน อาจมีซุปสำเร็จรูปติดบ้านไว้บ้าง เช่น ซุปสาหร่าย, ซุปเต้าเจี้ยว, เต้าหู้, ข้าวโพด จนถึงซุปไก่ ซุปเนื้อ ถ้าถนัดเข้าครัวทำกินเองก็ต้องมีวัตถุดิบติดตู้เย็น ถ้าทำเองให้เติมน้ำมากหน่อย ลดเกลือลงหน่อย กินร้อน ๆ อุ่นท้อง ไล่ไข้หวัด ไล่หนาว กินกับข้าวสวยหรือเติมธัญพืชโฮลเกรน หรือปรุงซุปสไตล์ฝรั่งใส่มักกะโรนีหรือพาสต้าชิ้นเล็ก ๆ กินอิ่ม อุ่น และอร่อย 6 กินไข่ ปลา และชีส มากขึ้น เป็นอาหารกลุ่มที่มีวิตามินบี, ดี, เค, และมีวิตามินบี 12 สูง มีโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก กรดไขมันโอเมก้า-3 ให้พลังงานทันที เสริมภูมิต้านทาน ลดอาการเหนื่อยล้า ช่วยบำรุงสมองและกระดูก สามารถกินได้ทุกวัน เมนูเอ้กเบเนดิกต์ มีครบทั้งไข่ ปลาแซลมอน หรือแซนด์วิชทูน่ากับไข่ ต้มยำปลา หัวปลาหม้อไฟต้มเผือก กินอุ่นท้อง เหมาะเป็นอาหารฤดูหนาว


ผู้เชี่ยวชาญไทยตอกย้ำ ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในงานประชุมวิชาการนานาชาติ
12/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2566 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศว่า จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยปี 2566 จะสูงเกิน 300,000 ราย และเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม จำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ก็ยังมีอยู่เรื่อย ๆ ทำให้ทุกคนต้องเผชิญความเสี่ยงการติดไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโควิด 19 ถึง 3 โรค หลาย ๆ คนจึงหาซื้อกลุ่มยารักษาไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เช่น ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล เพื่อใช้เป็นยาประจำบ้าน ในประเทศไทย ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในเดือนมีนาคม 2563 ให้เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทยาวิจัยพัฒนา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล ได้ถูกนำมาใช้ในการต่อสู้กับโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด 19 และโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ จึงมีส่วนร่วมในการปกป้องดูแลสุขภาพของคนไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คุณสุภาภรณ์ แซ่จาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอินเวย์ กรุ๊ป จำกัด (Enwei Group Co., Ltd.) ซึ่งเป็นผู้นำเข้ายาสมุนไพรจีนรายหลักของประเทศไทย และเป็นตัวแทนจำหน่ายยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ ในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันสำคัญที่ทำให้ยาสมุนไพรจีนเข้ามามีบทบาทในการต่อสู้กับการระบาดของโควิด 19 ในประเทศไทย และทำให้คนไทยรู้จักและยอมรับยาสมุนไพรจีนมากขึ้นผ่านประสบการณ์การใช้ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากคุณสุภาภรณ์มาพูดคุยเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยในช่วงการระบาดของโควิด 19 โดยเฉพาะปัจจุบันคนไทยได้กลับมาใช้ชีวิตปกติแล้ว ยาสมุนไพรจีนจะมีบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวอย่างไร ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล (Lianhua Qingwen Capsule) เป็นยาสิทธิบัตรโดย Yiling Pharmaceutical ของประเทศจีน ซึ่งได้พัฒนาจากตำรับยาเก่าแก่ 1,800 ปี และได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติและบัญชียาประกันสุขภาพของประเทศจีน นอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทนของยาสมุนไพรจีนเข้าไปอยู่ใน Guideline การรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเหตุการณ์ด้านสาธารณสุขของประเทศจีนมากว่า 34 ครั้ง ปัจจุบัน ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล ได้รับการขึ้นทะเบียนและมีการจำหน่ายอย่างเป็นทางการใน 30 ประเทศทั่วโลกค่ะ” คุณสุภาภรณ์ แซ่จาง ยังกล่าวเสริมอีกว่า “ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 ในประเทศไทย บริษัท เอินเวย์ กรุ๊ป จำกัด ได้มอบยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูลให้กับสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาล และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อร่วมใจสู้ภัยโควิด


ข่าวบิดเบือน Human Metapneumovirus (HMPV) ทําปอดอักเสบคล้ายไข้หวัดใหญ่ และโควิด 19
07/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
ตามที่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่อง Human Metapneumovirus (HMPV) ทําปอดอักเสบคล้ายไข้หวัดใหญ่ และโควิด 19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน จากกรณีที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลข่าวสารว่า Human Metapneumovirus (HMPV) ทําปอดอักเสบคล้ายไข้หวัดใหญ่ และโควิด 19 ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการ HMPV ที่มักพบ ได้แก่ ไอ มีไข้ คัดจมูก และหายใจลําบาก หากมีอาการรุนแรงจะก่อให้เกิดหลอดลมอักเสบหรือปอดบวม และคล้ายกับไวรัสอื่น ๆ ที่ทําให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง และมีระยะฟักตัวโดยประมาณคือ 3-6 วัน การติดต่อ มาจากสารคัดหลั่งจากการไอและจาม การสัมผัสส่วนบุคคลอย่างใกล้ชิด เช่น การสัมผัสหรือการจับมือ การสัมผัสวัตถุหรือพื้นผิวที่มีไวรัสติดอยู่ แล้วจึงสัมผัสปาก จมูก หรือตา การป้องกันและการรักษา และปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HMPV แต่เป็นการรักษาตามอาการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การระบาด HMPV จะไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดของโรคโควิด 19 เพราะโรคโควิด 19 เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อชนิดใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคโควิด 19 ในระยะแรก ทั้งนี้ เชื้อ Human Metapneumovirus (HMPV) ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์จัดอยู่ใน Genus Metapneumovirus, Family Paramyxoviridae ซึ่งเชื้อชนิดนี้เคยพบในประเทศไทยแล้ว โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทําการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสชนิดนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน และได้ทําการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Real Time PCR จากตัวอย่างที่ส่งตรวจผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดบวมจากโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ 8 แห่ง โดยผลการตรวจจะพบการติดเชื้อ HMPV สูงในช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือน ส.ค. ถึง ต.ค. และลดลงในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือน มี.ค. ถึง พ.ค. ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/ หรือโทร 02-590-3000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อาการ HMPV ที่มักพบ ได้แก่ ไอ มีไข้ คัดจมูก และหายใจลําบาก หากมีอาการรุนแรงจะก่อให้เกิดหลอดลมอักเสบหรือปอดบวม และคล้ายกับไวรัสอื่น ๆ แต่จะไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดของโรคโควิด 19 เพราะโรคโควิด 19 เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อชนิดใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคโควิด 19 ในระยะแรก


ไข้หวัดใหญ่...มาแรง ป่วยนาน..ระบาดวงกว้าง
09/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
นอกจากโควิด-19 แล้ว โรคที่รุนแรงไม่แพ้กันเห็นจะเป็น “ไข้หวัดใหญ่” หรือ Influenza ที่หากป่วยแล้วมีความรุนแรงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบ หืด โรคหัวใจ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงจมูก ลําคอ และปอด โดยปกติสามารถหายได้เอง แต่หากเกิดภาวะ แทรกซ้อนก็อาจจะทำให้เป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ อาการของไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจจะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดาซึ่งจะค่อยๆ แสดงอาการ โดยอาการของโรคหลักๆก็คือ มีไข้ หนาวสั่น และเหงื่อออก ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ไอแห้ง ปวดตา มีน้ำมูก จาม หายใจถี่ ท้องเสียและอาเจียนซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สามารถพักรักษาตัวที่บ้านได้ เว้นแต่ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ เวียนศีรษะ ชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว เพื่อรับยาต้านไวรัส ที่จะช่วยให้หายป่วยได้เร็วขึ้นและป้องกันอาการไม่ให้ทรุดหนัก ในเด็ก หากเป็นไข้หวัดใหญ่และมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลําบาก มีภาวะขาดน้ำ ปากเขียว ชัก ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ คนทั่วไปอาจสัมผัสเชื้อไวรัสจากละอองฝอยในอากาศ เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูดคุย คนทั่วไปอาจสูดรับเชื้อโรคทางลมหายใจหรือสัมผัสเชื้อที่ติดอยู่บนพื้นผิวของวัตถุ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคีย์บอร์ด โดยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนแสดงอาการ และยังสามารถแพร่เชื้อได้ต่อไปอีก 5 วันหลังแสดงอาการ ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องจะสามารถแพร่เชื้อได้นานกว่า ที่น่ากังวลคือ มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หากได้รับวัคซีนหรือป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน ร่างกายมักมีภูมิต้านทานโรค หากเชื้อไวรัสตัวใหม่นั้นมีความใกล้เคียงกับเชื้อตัวเก่าที่เคยเป็น ร่างกายจะมีแอนติบอดีป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไประดับแอนติบอดีในร่างกายจะลดลง หากสัมผัสกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยรู้จักมาก่อน แอนติบอดีที่มีอยู่เดิมจะไม่สามารถสู้กลับและป้องกันการติดเชื้อได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป อาศัยหรือทำงานในที่แออัด มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคเอชไอวี/เอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ การใช้สเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคตับ โรคเลือด โรคระบบประสาท กระบวนการทำงานทางชีวเคมีผิดปกติ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะระหว่างไตรมาสที่ 2 หรือ 3 โรคอ้วน โดยทั่วไป คนหนุ่มสาวซึ่งมีสุขภาพดีมักหายจากไข้หวัดใหญ่ได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหายใจลําบากเฉียบพลัน โรคหอบหืดกำเริบ หลอดลมอักเสบ หูอักเสบ โรคหัวใจ โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ ซึ่งอันตรายมากในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรงของอาการและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ อาการของโรคไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 มีความคล้ายคลึงกัน การฉีดวัคซีนไข้หวัด ใหญ่สามารถลดและป้องกันความสับสนระหว่างโรคทั้งสองได้ ส่วนที่มีข้อสงสัยเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และไข้หวัดใหญ่ในเวลาเดียวกันนั้นทำได้หรือไม่ คำตอบคือทำได้ และการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังสามารถทำได้ในกรณีผู้แพ้ไข่ขาวด้วย อย่างไรก็ตาม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% สุขอนามัยที่ดีจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยป้องกันการติดเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ล้างมือเป็นประจําด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่สัมผัสตา จมูก และปาก เมื่อจะจามหรือไอ ควรจามหรือไอใส่ข้อศอกหรือกระดาษทิชชู่ และล้างมือทุกครั้ง ทำความสะอาดโทรศัพท์หรือพื้นผิวของสิ่งของที่สัมผัสบ่อย หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด หลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ การตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ทำได้โดยการตรวจร่างกาย ซักอาการป่วย และทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 ได้พร้อมกัน และอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยทั้งสองโรค การรักษาไข้หวัด ใหญ่ เริ่มง่ายๆเลยคือ การพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำเปล่า หรือซุปอุ่นๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ พักผ่อนและนอนหลับเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ เช่น อาการปวดหัวและปวดเมื่อย และควรพักผ่อนอยู่บ้านจนกว่าจะหายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวและชุมชน งดพบปะผู้อื่นเมื่อป่วย ล้างมือบ่อยๆ หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านหรือไปโรงพยาบาลให้สวมหน้ากากอนามัยเสมอ.


SMD ส่ง “ชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A & B ด้วยตนเอง” ออกวางตลาดรับสถานการณ์ระบาดหนัก
08/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
บมจ.เซนต์เมด (SMD) ระบุว่าตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงต้นเดือนธันวาคม 2566 ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก บริษัทจึงเตรียมพร้อมกระจายสินค้า “ชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A & B แบบตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง” ยี่ห้อ Baicare ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวกับชุดตรวจ ATK ที่จำหน่ายช่วงโอมิครอนระบาดหนัก โดยจะจำหน่ายผ่านร้านขายยาที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันบริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ชุดตรวจไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A & B จัดจำหน่ายอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้ 1) SARS-CoV-2 and Influenza A+B Antigen Combo Rapid Test (Colloidal Gold) 2) Influenza A & Influenza B Antigen Combo Rapid Test (Colloidal Gold) 3) ชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A&B แบบตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง – Influenza A & Influenza B Antigen Combo Rapid Test (Colloidal Gold) โดยชุดตรวจประเภทที่ 1 และ ประเภทที่ 2 ซึ่งมีข้อห้าม 2 ประการ คือ “ห้ามบุคคลทั่วไปนำไปใช้ตรวจตัวเอง และห้ามขายแก่บุคคลทั่วไป” ซึ่งข้อความทั้งสองดังกล่าวนี้ได้ระบุไว้ให้เห็นชัดเจนบนฉลากหน้ากล่องสินค้า ดังนั้น สินค้าทั้ง 2 ประเภทนี้ บริษัทฯ จะจัดจำหน่ายให้แก่ โรงพยาบาล คลินิก และตัวแทนจำหน่ายช่วง เท่านั้น แต่สำหรับชุดตรวจประเภทที่ 3 ซึ่งเป็นชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A&B แบบตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง จะมีข้อความระบุบนฉลากหน้ากล่องว่า “บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้” ดังนั้น บริษัทฯ จะจัดจำหน่ายสินค้าประเภทที่ 3 นี้ ให้แก่ ตัวแทนจำหน่ายช่วงและร้านขายยาที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ นายวิโรจน์ วสุศุทธิกุลกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SMD กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีการลักลอบจัดจำหน่ายชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A & B แบบ Professional Use หรือ ชุดตรวจโควิดและชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A & B อยู่ในชุดเดียวกัน แบบ Professional Use อีกทั้งยังมีการจัดจำหน่าย ชุดตรวจโควิดและชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A & B และ RSV ที่อยู่ในชุดเดียวกัน แบบ Professional Use ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้จะมีข้อห้าม “ห้ามบุคคลทั่วไปนำไปใช้ตรวจตัวเอง และห้ามขายแก่บุคคลทั่วไป” โดยข้อความดังกล่าวจะระบุไว้ชัดเจนหน้ากล่องผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายความว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องถูกใช้งานโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น เนื่องจาก มีโอกาสเกิด Cross Sex และ/หรือ เหตุผลอื่นๆ อีกหลายประการ ซึ่งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปสับสนหรือตื่นตระหนกได้ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการลักลอบจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็น Professional Use หลากหลายผลิตภัณฑ์ให้แก่ประชาชนทั่วไป ในรูปแบบถอดกล่องสินค้าและฉลากสินค้าทั้งหมดทิ้งไป โดยนำชุดตรวจใส่ในถุงซิปพลาสติกใส ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายวิโรจน์ เล่าประสบการณ์เมื่อครั้งที่กลับจากไปดูงานในต่างประเทศปลายปี 65 มีอาการป่วยใกล้เคียงกับโควิด จึงตรวจ ATK COVID-19 ผลตรวจเป็นลบ จึงได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่นี้และตรวจพบเชื้อ Influenza A หลังจากนั้นจึงรีบไปพบแพทย์โดยทันที และได้ยามารับประทาน ถือว่าเป็น Early Detection – Early Treatment – Early Recovery ตามข้อเท็จจริงแล้วการตรวจพบโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A & B ยิ่งเร็วเท่าไหร่ การรักษาด้วยยาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้นเช่นกัน อีกทั้ง โรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A & B ในผู้ป่วยบางรายมีอาการใกล้เคียงกันมาก แต่การรักษาด้วยยาจะต่างกัน ข้อมูลจากกรมอนามัย ระบุว่า โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza Virus) เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกือบทุกทวีป ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตนับล้านคน สายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ในคนมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ A, B และ C แต่มีเพียงสายพันธุ์ A และ B ที่มีการระบาดโดยทั่วไป โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แบ่งออกเป็นหลายซัปไทด์ ซัปไทด์ที่มีการระบาดเป็นประจำคือ H1N1 และ H3N2 ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B แบ่งออกเป็น 2 lineages คือ Victoria และ Yamagata โดยอาการมักไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ A อาการป่วยจะเริ่มหลังได้รับเชื้อ 1-4 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้แบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก และอาจพบอาการคัดจมูก เจ็บคอ ถ้าป่วยเป็นระยะเวลานานอาจจะมีอาการไอจากหลอดลมอักเสบ (post viral bronchitis) อาการจะรุนแรงและป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดา (common cold) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่มีบางรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดบวม ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้


หมอยงคาดความรุนแรงโควิดลดลง คล้ายไข้หวัดใหญ่ 2009
13/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
หมอยง เปรียบเทียบความรุนแรงโควิด คล้ายไข้หวัดใหญ่ 2009 คาดความรุนแรงลดลง หลังมีภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีน นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่าน FACEBOOK เปรียบเทียบแนวโน้มความรุนแรงของโควิด19 เทียบกับไข้หวัดใหญ่ 2009 ว่า ในปีแรกของการระบาดด้วยไข้หวัดใหญ่ 2009 เมื่อไวรัสเข้าสู่ประเทศไทย มีการตื่นตระหนกกันพอควร เพราะมีสื่อต่าง ๆ รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ พยายามพูดและคิดว่าจะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่สเปน เพราะเป็นสายพันธุ์ใหม่และคิดว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิต้านทาน แต่ความเป็นจริงก็ไม่ได้เป็นอย่างข่าวหรือที่มีการกล่าวถึง เนื่องจากสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 มีความใกล้เคียงกับสายพันธุ์ของ H1N1 ในอดีตหรือไข้หวัดใหญ่สเปน ทำให้ผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกันบางส่วน โรคจึงเป็นกับเด็กและวัยกลางคนเป็นจำนวนมากแทน โดยอัตราการสูญเสียในการระบาดปีแรก ประมาณ 200 กว่าคน และเข้าสู่ภาวะปกติในปีต่อมา ไวรัสไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่กับเราจนถึงปัจจุบัน และอัตราการเสียชีวิตในปีต่อ ๆ มา ก็ลดลงมาโดยตลอด สำหรับเชื้อโควิด 19 ก็เช่นเดียวกัน ในปีแรก คนส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ความรุนแรงของโรคจึงสูงสุดในปีแรก และก็ค่อยๆลดลง เมื่อประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้วและสร้างภูมิต้านทาน ที่เกิดขึ้นจากวัคซีนเป็นส่วนใหญ่ มาจนถึงวันนี้ความรุนแรงของโรค จะเห็นได้จากอัตราการเสียชีวิต และอยู่ที่ 1-3 รายต่อสัปดาห์ในช่วงฤดูกาล และจะน้อยกว่านี้อีกเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปีต่อไปซึ่งเมื่อรวมทั้งปีแล้ว ก็ไม่น่าจะมากกว่าจำนวนการเสียชีวิตของ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ในการระบาดปีแรก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสายพันธุ์ของโควิด 19 ขณะนี้มีสายพันธุ์ย่อยเป็นจำนวนมาก คาดการณ์ยาก ว่าสายพันธุ์ที่จะระบาดปีหน้าคืออะไร การพัฒนาวัคซีนให้ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาด ก็ทำได้ยากพอสมควร การติดเชื้อเป็นแล้วก็เป็นได้อีก เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่


นพ.ยง” เผยป่วยโควิด19 ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอง เว้นเป็นข้อมูลติดตามการระบาด
06/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญฯ จุฬาฯ เผยขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อว่าติดไวรัสชนิดอะไร ทั้งโควิด19 ไข้หวัดใหญ่ เหตุการรักษาไม่แตกต่างกัน เป็นการรักษาตามอาการ ขณะที่ RSV ก็เช่นกันไม่มีความจำเป็น เพราะไม่มียาจำเพาะ เว้นกลุ่มเปราะบาง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโควิด-9 กับจุดสมดุลของทุกฝ่าย ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan กรณี “โรคทางเดินหายใจที่เป็นอยู่ขณะนี้ จำเป็นต้องตรวจให้รู้ว่า เกิดจากเชื้อไวรัสใดหรือไม่” โดยระบุว่า ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่มีความจำเป็น การตรวจให้รู้ว่าเป็นไวรัสใด เราจะตรวจหาไวรัสที่มียาต้านไวรัสและรักษาได้ เช่นไข้หวัดใหญ่ โควิด 19 โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง หรือผู้สูงอายุที่ต้องการการรักษาจำเพาะ ไวรัสที่เหลืออีกจำนวนมาก ไม่มีความจำเป็น เพราะการรักษาไม่แตกต่างกัน เป็นการรักษาตามอาการ แบบประคับประคอง รอเวลา ให้ภูมิต้านทานเรากำจัดไวรัสให้หมดไป ถึงแม้ RSV ก็ไม่มีความจำเป็น เพราะไม่มียารักษาจำเพาะ ยกเว้นในกลุ่มเปราะบางที่อาจจะใช้ monoclonal antibody RSV ไม่มีเหตุผลในการให้ยา Montelukast ในการป้องกันแทรกซ้อนแต่อย่างใด การตรวจให้รู้ว่าเป็นไวรัสตัวใด มีความจำเป็นในการศึกษาวิจัย ให้รู้ว่าขณะนี้มีไวรัสอะไรกำลังระบาดอยู่ อย่างการทำงานวิจัยของศูนย์ แล้วใช้ผลงานวิจัยข้อมูลทั้งหมดเผยแพร่ เพื่อวางมาตรการในการป้องกัน และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยต่อไปในภาพรวม การตรวจให้รู้ว่าเป็นไวรัสใด สายพันธุ์อะไร มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จะเกิดค่าใช้จ่าย โดยไม่จำเป็นในการรักษา เช่นตรวจรู้ว่าเป็น parainfluenza การรักษาก็เหมือนเดิม


สสจ.เตือนไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก ไทยป่วยแล้วกว่า 4 แสนราย เร่งรณรงค์ป้องกัน
02/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน นพ.สุผล ตติยนันทพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มีทั้งหนาวเย็นและลมพัดแรงในช่วงเช้า และอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงกลางวัน การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมาจึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดย นพ.ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ได้รายงานผลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-21 พฤศจิกายน 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ มากถึง 404,896 ราย และมีผู้เสียชีวิต 10 ราย โดยพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุ 7-9 ปี ตามลำดับ ในขณะที่สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในเขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-18 พฤศจิกายน 2566 มีผู้ป่วยสะสมแล้ว 51,780 ราย และมีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งสถานการณ์ 8 สัปดาห์ที่ผ่านมา (สัปดาห์ที่ 39-46) ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน-18 พฤศจิกายน 2566 พบผู้ป่วย 20,170 ราย เมื่อแยกเป็นรายจังหวัด พบว่า จ.นครราชสีมา มีผู้ป่วย 9,424 ราย, จ.สุรินทร์ มีผู้ป่วย 4,059 ราย, จ.บุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 3,572 และ จ.ชัยภูมิ มีผู้ป่วย 3,115 ราย โดยพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุ 10-14 ปี ตามลำดับ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยการรับเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม ในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น นอกจากนี้ ยังแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ซึ่งผู้ที่ป่วยมักจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ไอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง ส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่จะมีบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง เช่น ผู้มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ ดังนั้น ต้องรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชนให้ป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะ 7 กลุ่มเสี่ยง ควรไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง ซึ่ง 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2.เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี 3.ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน 4.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 5.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 6.โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งรวมผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ และ 7.โรคอ้วน


สธ. เตือนโควิดแนวโน้มสูงขึ้นช่วงหน้าหนาว ด้านไข้หวัดใหญ่-RSVลดลง
03/12/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
กรมควบคุมโรค แจ้งเตือนโรคโควิด 19 ที่มีแนวโน้ทระบาดเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว หลังไข้หวัดใหญ่และRSVผู้ป่วยลดลง ย้ำติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจในประเทศจีนอย่างใกล้ชิด แนะประชาชนในไทยไม่ตื่นตระหนกและป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด เมื่อวันนี้ (29 พฤศจิกายน 2566) นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 เริ่มมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นไปตามคาดการณ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อย และยังคงเป็นสายพันธุ์ โอมิครอน นอกจากนี้กรณีที่มีรายงานข่าวจากประเทศจีนว่าพบการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจเป็นวงกว้างและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน


รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่น้อย ทำผู้ป่วยพุ่ง แพทย์ชี้เชื้อแรงกว่าโควิด-19
30/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
กรมควบคุมโรค แจง โควิดป่วยเพิ่ม อาการไม่รุนแรงเท่าไข้หวัดใหญ่ เหตุคนรับวัคซีนฯน้อย รอบสัปดาห์ที่ผ่านมาป่วย 16,159 คน วันนี้ (30 พ.ย. 2566 )นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า หลังจากสภาพอากาศเย็นลงต่อเนื่องในส่วนของซีกโลกเหนือ อเมริกา ,ยุโรปเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้ว จึงทำให้เชื้อไวรัสเติบโตได้ดี ประกอบกับเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น ผู้คนนิยมเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น มีผลให้การติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด- 19 ข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าตั้งแต่ 1 ม.ค. - 25 พ.ย. 2566 มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 35,668 คน เสียชีวิตสะสมจำนวน 823 คน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 82 คน ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 45 คน หากเปรียบเทียบอัตราป่วยพบ มีจำนวนลดลง ต่างจากช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่ไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด และปัจจุบันคนส่วนใหญ่ ได้รับวัคซีนป้องกันโควิดหลายเข็ม รวมทั้งมีภูมิคุ้มกันธรรมชาติป้องกันอาการการป่วยติดเชื้อ ส่วนอัตราการป่วยแบบราย สัปดาห์ระหว่างวันที่ 19 - 25 พ.ย. 2566 พบว่า มีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 480 คน เฉลี่ยรายวัน 69 คนต่อวัน และผู้เสียชีวิต รายสัปดาห์จำนวน 2 คน "โควิด-19 "ติดซ้ำได้เท่า"ไข้หวัด" นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับอัตราการติดเชื้อธรรมชาติของโควิดมีความใกล้เคียงไข้หวัด ซึ่งในรอบ 1 ปี สามารถป่วยได้หลายครั้ง แต่กลุ่มคนเฝ้าระวังยังคงเป็นผู้ป่วยกลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ ,ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ,หญิงตั้งครรภ์ หากมีอาการป่วยต้องรีบพบแพทย์ทันที และจากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ของโควิด โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ยังคงเป็นตระกูลโอมิครอน ในกลุ่ม XBB ทำให้ติดเชื้อ ไม่มีอาการป่วยรุนแรง ไข้หวัดใหญ่แรงกว่าโควิด -19


คร. เตือน ปชช. ระวัง 4 โรคฤดูหนาว ‘ไข้หวัดใหญ่-ปอดอักเสบ-หัด-อุจจาระร่วง’
21/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศ เรื่องการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 8 พ.ย. 2566 ซึ่งลงนามโดย นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ รักษาราชการแทนอธิบดี คร. ประกาศมีใจความสำคัญว่า ด้วยขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อและภัยสุขภาพ คร. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้อกัน ควบคุมโรค และภัยคุกคามทางสุขภาพ จึงขอให้ประชาชนหมั่นดูแลร่างกายให้อบอุ่น และแข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งนี้ เพื่อลดโอกาสที่จะเจ็บป่วยจากโรคและภัยสุขภาพดังนี้ 1. โรคติดต่อทางระบบหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดอักเสบ 2. โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง 3. โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ โรคหัด และ 4. ภัยสุขภาพ ได้แก่ การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว รวมถึงการขาดอาการศหายใจและการสูดดมแก๊สพิษจากอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายจากเครื่องทำน้ำอุ่นแบบใช้ระบบแก๊ส


แพทย์เผยโรคไข้หวัดใหญ่ในไทยป่วยได้ตลอดปีนี้อาจทะลุล้านราย ย้ำผู้สูงอายุเป็นกลุ่ม ‘เสี่ยงตาย’ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรังร่วมด้วย แนะควรฉีดวัคซีนป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป
18/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
ปี 2566 มีรายงานคนไทยป่วยโรคไข้หวัดใหญ่กว่า 3 แสนราย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเชื่อยอดป่วยจริงอาจทะลุหลักล้านราย เพราะติดเชื้อได้ตลอดปี ป่วยแล้วป่วยซ้ำได้ในปีเดียวกันหากไม่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เผยผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะเป็นกลุ่มเปราะบางและมีโรคประจำตัวร่วมด้วย แนะรัฐเพิ่มจำนวนวัคซีนฟรีให้ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และขยายกลุ่มเด็กโตให้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นเพราะมีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดใหญ่แล้วแพร่เชื้อสูง ย้ำวัคซีนคุ้มค่า คุ้มทุน และเป็นที่ยอมรับมากว่า 80 ปีแล้ว รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า “ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีการระบาดเป็นประจำทุกปี แต่จากช่วง 2-3 ปีที่มีการระบาดของโควิด-19 ทำให้โรคไข้หวัดใหญ่หลบไปและห่างเหินชั่วคราว นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้และมีมาตรการป้องกันโควิด-19 จนในปี 2566 จึงเห็นชัดเจนว่าประชาชนมีการป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จำนวนมาก จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตั้งแต่มกราคม-ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยกว่า 3 แสนราย ซึ่งในจำนวนนี้เสียชีวิต 21 ราย แต่ในความเป็นจริงจำนวนผู้ป่วยอาจจะมากกว่านี้ เนื่องจากผู้ที่มีอาการน้อยไม่ได้เข้ารับการรักษาหรือรักษาที่คลินิกก็ไม่ได้รับการรายงาน จึงเชื่อว่าในปีนี้น่าจะมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่อาจถึงหลักล้านคนได้ จากข้อมูลโรคไข้หวัดใหญ่ย้อนหลังของประเทศไทย จะมีความแตกต่างจากประเทศในซีกโลกเหนือ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่จะมีโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดเฉพาะช่วงฤดูหนาว เมื่อฤดูร้อนโรคจะหายไปหมด แต่สำหรับประเทศไทยอยู่ตรงเส้นศูนย์สูตร จึงพบโรคไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นในช่วงฤดูฝน เพราะมีความชื้นสูง ฝนตกคนรวมกลุ่ม นักเรียนเปิดเทอม ทำให้โรคไข้หวัดใหญ่มีการระบาดและเด็กนักเรียนจะนำเอาเชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ครอบครัวและผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งกลุ่มเด็กเป็น ‘กลุ่มเสี่ยงเป็น’ และมักจะรุนแรงในกลุ่มเด็กเล็ก ขณะที่ผู้สูงอายุเมื่อป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่อาจจะมีอาการรุนแรงมาก เรียกว่าเป็น ‘กลุ่มเสี่ยงตาย’ ส่วนคนหนุ่มสาวก็ป่วยได้แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรุนแรง จะเห็นได้ว่าโรคไข้หวัดใหญ่เป็นได้ทุกกลุ่มอายุ และโรคนี้จะคงอยู่กับเราตลอดไป วัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงมีประโยชน์สำหรับคนทุกวัย” รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวด้วยว่า การศึกษาในประเทศไทยกรณีการเข้ารับการรักษาด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ พบว่า มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม การศึกษาพบว่าภาระโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีการจ่ายค่ารักษาทั้งสิ้น ปีละประมาณ 1,100 ล้านบาท และมีการสูญเสียค่าใช้จ่ายทางอ้อมอีก 1,300 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นสูญเสียทางเศรษฐกิจ เป็นเงินจำนวน 2,400 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ทางการแพทย์มีการศึกษาวิจัยถึงวิธีการป้องกันควบคุมโรคที่มีความคุ้มค่า คุ้มทุนมากที่สุด คือ ‘วัคซีน’ และภาครัฐบาลได้นำวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาให้บริการฟรีกับกลุ่มเสี่ยงที่ป่วยแล้วจะมีความรุนแรง เช่น เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคอ้วน หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) ควรจะมีนโยบายจัดการหรือแนวทางในการป้องกันช่วยลดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น สะดวกขึ้น อาทิ ช่องทาง Drive-Thru เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาหรือแถบยุโรปที่มีทีมพยาบาลหรือสหสาขาวิชาชีพก็สามารถให้บริการได้สะดวกมาก โดย รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี มองว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีการยอมรับในภาคประชาสังคมของคนไทยมากที่สุด เป็นวัคซีนที่มีการพัฒนาและใช้กันมายาวนานกว่า 50 ปี มีความปลอดภัยสูง นับได้ว่า ‘วัคซีนไข้หวัดใหญ่’ มีความคุ้มค่าและคุ้มทุนอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงตาย ช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย โรคแทรกซ้อนรุนแรง การนอนโรงพยาบาล และการสูญเสียชีวิตได้ ซึ่งหากภาครัฐมีการพิจารณาเพิ่มจำนวนวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงป่วยรุนแรงที่มีโอกาสเสียชีวิตได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีนมากขึ้น รวมถึงพิจารณาขยายกลุ่มฉีดฟรีในกลุ่มเด็กโต ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะนำพาเชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ครอบครัวและผู้สูงอายุในบ้าน ก็จะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างมหาศาล ขณะที่ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่าผู้สูงอายุมักเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ซึ่งประการแรกสำคัญที่สุด ก็คือ 1) ภาวะภูมิคุ้มกันถดถอยหรือภูมิคุ้มกันที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้เหมือนช่วงหนุ่มสาว ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงถ้าติดเชื้อแล้วจะมีความรุนแรงได้ 2) ผู้สูงอายุมักจะมีโรคร่วม เช่น ผู้สูงอายุบางรายอาจมีโรคปอดถุงลมโป่งพอง พอป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ก็จะทำให้หอบเหนื่อยหรือมีเชื้อลงปอดและมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ หรือบางรายอาจเป็นโรคหัวใจอยู่เดิม พอป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่อาจส่งผลให้โรคหัวใจแย่ลงตามไปด้วย หรือหากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่ดี เพราะเซลล์ที่จะไปจับกินเชื้อโรคก็จะทำงานได้ไม่ดี ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนเนื่องจากมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย และ 3) ผู้สูงอายุยังมีภาวะทุพโภชนาการ คือ กินได้น้อยลง กินได้ไม่ครบ 5 หมู่ ก็จะส่งผลให้เกิดโรคได้ง่าย รวมถึงเป็นโรคที่รุนแรงได้ง่าย ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ ‘ผู้สูงอายุ’ ควรต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความรุนแรงของโรค ลดการเกิดปอดอักเสบจากการที่เชื้อไวรัสลงปอด ลดการเจ็บป่วยที่จะต้องนอนโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิต เนื่องจากการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อในชีวิตประจำวัน เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อย ๆ และการอยู่ห่างจากผู้ติดเชื้อ จะไม่สามารถทำได้ตลอดเวลา หรือปฏิบัติแล้วก็ยังมีโอกาสป่วยได้เช่นกัน ทั้งนี้สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ได้มีคำแนะนำว่า จริง ๆ แล้ว ทุกคนควรจะได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 ประเภท ได้แก่ 1.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน (standard dose) มีปริมาณแอนติเจน 15 ไมโครกรัมต่อ 1 สายพันธุ์ต่อโดส สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ 2.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง (high dose) มีปริมาณแอนติเจน 60 ไมโครกรัมต่อ 1 สายพันธุ์ต่อโดส เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าลดการติดเชื้อแบบมีอาการได้มากกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน ประมาณร้อยละ 24 และยังลดการนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบได้สูงกว่าขนาดมาตรฐาน รวมถึงลดการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้สูงกว่าขนาดมาตรฐาน โดยอาจมีอาการปวดบริเวณที่ฉีดมากกว่าขนาดมาตรฐานเล็กน้อย รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวทิ้งท้ายว่า “สิ่งสำคัญที่อยากแนะนำในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ ประชาชนไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 1 ปี โดยทุกปีวัคซีนของฤดูกาลใหม่จะเข้ามาในช่วงเมษายน – พฤษภาคม สามารถมาฉีดได้ทันที เพียงให้เว้นระยะห่างจากวัคซีนครั้งก่อนอย่างน้อย 6 เดือน โดยกลุ่มเสี่ยงที่รัฐกำหนดสามารถฉีดฟรีได้ที่หน่วยบริการพยาบาลภาครัฐ หรือสอบถามสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 สำหรับผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงสามารถฉีดได้ที่หน่วยบริการภาครัฐและเอกชน โดยที่จะต้องดูแลค่าใช้จ่ายเอง”


จัดวัคซีนไข้หวัดใหญ 1 แสนโดส ฉีดให้คนท่องเที่ยว (Safety Phuket Island Sandbox)
13/11/2566
เหตุการณ์โรคในประเทศ
กระทรวงสาธารณสุขจัดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1 แสนโดส ฉีดให้กลุ่มคนให้บริการด้านการท่องเที่ยว ตามมาตรการ “นักท่องเที่ยวปลอดภัย : Safety Phuket Island Sandbox ในโครงการ Quick Win 100 แรกของภูเก็ต นายกรัฐมนตรีมาเปิดเอง 26 พ.ย.นี้

รายการทั้งหมด 105 รายการ