News

Home > News

News

เหตุการณ์โรคในประเทศ
 

หมอมนูญ ชี้โควิดสายพันธุ์ย่อยใหม่ KP.2 ติดง่าย แต่ไม่รุนแรง

icon 30/05/2567 เหตุการณ์โรคในประเทศ
หมอมนูญ ชี้โควิดสายพันธุ์ย่อยใหม่ KP.2 ติดง่าย แต่ไม่รุนแรง
วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อยใหม่ KP.2 ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อยใหม่ล่าสุด KP.2 ระบาดแซงหน้าไวรัสโควิดตัวปัจจุบัน JN.1 ในหลายประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์แล้ว และอีกไม่นานคงแทนที่เชื้อไวรัส JN.1 ทั่วโลก
โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาชื่อ ศาสตราจารย์ T.Ryan Gregory เป็นผู้ที่ตั้ง “ชื่อเล่น” เชื้อไวรัสตัวใหม่ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้ว่า “FLiRT” อ่านว่า เฟลิร์ต แปลว่า เจ้าชู้ จีบทุกคนไปทั่ว ชื่อเล่นนี้กำลังโด่งดังไปทั่วโลก
ซึ่งเขาตั้งชื่อนี้ เพราะพบว่ามีการกลายพันธุ์ของกรดอะมิโนที่โปรตีนตรงส่วนหนามของเชื้อไวรัสเดิม 2 ตำแหน่ง คือที่ตำแหน่ง 456 จาก F เปลี่ยนเป็น L และที่ตำแหน่ง 346 จาก R เปลี่ยนเป็น T เอาอักษรย่อทุกตัวมารวมกัน และใส่ i ตรงกลางเป็น “FLiRT“
โดยเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยใหม่ KP.2 นี้ยอมรับว่าเฟลิร์ตน่าดู ติดคนไปทั่ว ไม่ว่าจะเคยติดเชื้อไวรัสโควิดมาแล้ว หรือฉีดวัคซีนป้องกันโควิดไม่ว่ากี่เข็มก็ตาม ติดคนจำนวนมากที่ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยติดเชื้อแม้แต่ครั้งเดียว แต่โชคดีที่นอกจากความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น กลับลดลงกว่าเดิมด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ คนไทยไม่ต้องตื่นตะหนก ถ้าติดเชื้อตัวนี้ก็ถือว่าเป็นการฉีดวัคซีนโควิดรุ่นใหม่ล่าสุด เพื่อกระตุ้นตัวเราเองให้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด คนทั่วไปที่ปกติแข็งแรงดี หากติดเชื้ออาการไม่มาก กินยาตามอาการ เป็นเองหายเอง
สำหรับคนสูงอายุ คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เมื่อทราบว่าตัวเองติดเชื้อไวรัสโควิดรีบไปพบแพทย์เร็วที่สุด เพื่อรับยาต้านไวรัส ยิ่งได้ยาเร็วยิ่งหายเร็ว
 
แหล่งที่มา : https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-1575018
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า