News

Home > News

News

เหตุการณ์โรคในประเทศ
 

กรมควบคุมโรค เฝ้าระวังไข้หวัดนก H5N1 หลังอเมริกาพบผู้ติดเชื้อจากโคนมรายที่ 2

icon 28/05/2567 เหตุการณ์โรคในประเทศ
กรมควบคุมโรค เฝ้าระวังไข้หวัดนก H5N1 หลังอเมริกาพบผู้ติดเชื้อจากโคนมรายที่ 2

วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 มีรายงานว่า นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงกรณีมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ซึ่งคาดว่าติดเชื้อจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของโคนมในฟาร์มที่รัฐมิชิแกน นับเป็นรายที่ 2 ของสหรัฐอเมริกา

โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกจากโคนมเป็นรายแรกของประเทศ ที่รัฐเท็กซัส จากการแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ครั้งนั้น ถึงแม้จะพบได้ยาก แต่ถือเป็นกรณีแรกที่มีแนวโน้มว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถแพร่เชื้อไปยังคนได้ จึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

สำหรับสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทย พบการระบาดครั้งสุดท้ายในคนเมื่อปี 2547 หลังจากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กรมควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องทั้งในคน สัตว์ และสัตว์ป่า รวมทั้งติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ จากการประสานงานกับกรมปศุสัตว์ทราบว่า ประเทศไทยไม่มีการนำเข้าโคนมจากสหรัฐอเมริกา จึงประเมินได้ว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงของการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกจากสถานการณ์ดังกล่าวในระดับต่ำ

สำหรับการเตรียมความพร้อม และเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย กรมควบคุมโรค มีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ ดังนี้

  1. กรมควบคุมโรค มีความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ร่วมกับกรมปศุสัตว์ และศูนย์ป้องกันควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา เพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคนและสัตว์ ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
  2. ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กรมควบคุมโรค เพื่อพิจารณามาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกสำหรับผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ
  3. ประสานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่องความร่วมมือการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One health) เพื่อหารือและเตรียมความพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำต่อไป

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกมานาน แต่ประเทศเพื่อนบ้านยังมีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในคนและสัตว์อย่างต่อเนื่อง กรมควบคุมโรค จึงขอแนะนำให้ประชาชนมีการป้องกันตนเอง ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วยหรือตาย
  2. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยเฉพาะหลังสัมผัสกับสัตว์ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก ขณะใกล้ชิดกับสัตว์
  3. หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ใกล้บ้านทันที และสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด
  4. ห้ามนำสัตว์ปีกป่วยตายมาปรุงอาหารเด็ดขาด
  5. การรับประทานเนื้อสัตว์ปีกและไข่ต้องปรุงสุกสะอาด
  6. หากมีอาการคล้ายไข้หวัด ได้แก่ ไข้ ไอ มีน้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย หรือมีตาแดงอักเสบ หลังสัมผัสกับสัตว์หรือสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมกับแจ้งประวัติการสัมผัสสัตว์ให้แพทย์ทราบ โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค.
แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/news/society/2788876
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า