News

Home > News

News

เหตุการณ์โรคในประเทศ
 

หมอเตือน "ไข้หวัดใหญ่" ตัวนำร่องโรคแทรกซ้อน "คนแก่" ทั้งหัวใจวาย-สโตรก แนะวัคซีนโดสสูงช่วยลดเสี่ยง

icon 03/09/2566 เหตุการณ์โรคในประเทศ
หมอเตือน "ไข้หวัดใหญ่" ตัวนำร่องโรคแทรกซ้อน "คนแก่" ทั้งหัวใจวาย-สโตรก แนะวัคซีนโดสสูงช่วยลดเสี่ยง
แพทย์เตือน "โรคไข้หวัดใหญ่" ตัวนำร่องก่อโรคแทรกซ้อนรุนแรง ทั้งปอดอักเสบ หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง อาจถึงขั้นเสียชีวิต ห่วง "สูงอายุ" เป็นกลุ่มเสี่ยง แนะฉีดวัคซีนป้องกัน มีขนาดโดสสูงช่วยลดการติดเชื้อ ลดนอน รพ. ลดอาการรุนแรง และลดเสียชีวิตสูงกว่าโดสมาตรฐาน

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ เปิดเผยว่า ปี 2566 พอเข้าสู่ฤดูฝน จะเริ่มเห็นการระบาดของไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นกว่า 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในช่วงโควิด 19 ครองโลก ทำให้ผู้คนเก็บตัวในบ้าน ระมัดระวังด้านสุขอนามัย โอกาสแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่ก็น้อยลง บวกกับในช่วงนั้นประชาชนห่างหายจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทำให้ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ยังหมุนเวียนอยู่อย่างเบาบาง พอสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 เริ่มกลับสู่สภาวะปกติ ทำให้พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากขึ้นอย่างชัดเจน โดยอัตราคนที่เป็นไข้หวัดแล้วมา รพ. ตรวจพบว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ประมาณ 15%

"โรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่มักจะก่อโรคในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยปีหนึ่งๆ เด็ก 100 คนจะติดเชื้อและมีอาการเจ็บป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่ 20-25% ผู้ใหญ่อยู่ที่ 10% ปัจจัยสำคัญของการระบาดนอกจากฤดูฝนที่ทำให้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีชีวิตอยู่นาน อีกเรื่องก็คือโรงเรียนเปิด เด็กนักเรียนจะติดต่อส่งเชื้อให้กัน อาจพาเชื้อไปสู่คนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุในบ้าน ซึ่งมีโอกาสที่โรคจะรุนแรง ถึงขั้นต้องนอน รพ.หรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่างๆ โดยผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่อาการรุนแรงที่นอน ICU พบเสียชีวิตอยู่ที่ 10%" รศ. (พิเศษ) นพ.ทวีกล่าว

รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่เป็นตัวนำร่อง เป็นเชื้อโรคที่ก่อโรคทางเดินหายใจ ก่อโรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้บ้างแต่ไม่มาก แต่ตัวที่มาซ้ำเติม ส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกาะในลำคอจะมีอันตรายมากกว่า ทำให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยเวลาที่เป็นไข้หวัดใหญ่ทำให้เส้นทางเดินหายใจที่ลงไปที่ปอดมีการติดเชื้อและอักเสบ เหมือนทางเดินขรุขระ เชื้อแบคทีเรียที่เกาะอยู่ที่คอก็จะไต่ลงไปที่ปอด เกิดภาวะปอดอักเสบถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรืออาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิต ทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือดเล็กๆ น้อยๆ อยู่ตามที่ต่างๆ ทำให้โรคหัวใจรุนแรงขึ้น หรือหากไปอุดตันตามเส้นเลือดของสมอง ก็ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ได้

"ไข้หวัดใหญ่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโรคและอาจมีโรคแทรกซ้อนทำให้รุนแรงขึ้นหลายชนิด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคประจำตัว ทำให้คนที่เป็นโรคหัวใจอาจจะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน มีภาวะหัวใจวาย หรือคนชรามากๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงช้า มีภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ จึงเป็นที่มาของอันตรายจากโรคของหลอดเลือดที่ไปหัวใจและสมองได้" รศ. (พิเศษ) นพ.ทวีกล่าว


"ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีร่างกายอ่อนแอ ตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนต่ำ จากการศึกษาการฉีดวัคซีนขนาดมาตรฐานพบว่า บางรายสร้างภูมิคุ้มกันไม่ค่อยดี ไม่เหมือนกับช่วงอายุอื่น จึงมีการศึกษาพัฒนาเพิ่มขนาดของตัวยาในแต่ละสายพันธุ์ เป็น 60 ไมโครกรัมต่อ 1 สายพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดที่มีอาการได้สูงกว่าชนิดที่เป็นมาตรฐาน ร้อยละ 24 และลดการนอน รพ.และปอดอักเสบได้สูงกว่าร้อยละ 64.4 ลดการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ได้สูงกว่าร้อยละ 48.9 แต่อาจพบผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาจมีอาการปวดบริเวณที่ฉีดมากกว่า โดยวัคซีนขนาดสูงได้ใช้อยู่ในยุโรป อเมริกา มานานมากกว่า 10 ปี และใช้มากกว่า 200 ล้านโดสแล้ว" รศ. (พิเศษ) นพ.ทวีกล่าว
 
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า